วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาทางไกล
        การศึกษาทางไกล (Distance Learning)          
สาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ทำก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบของ "การศึกษาทางไกล หรือการศึกษาไร้พรมแดน" คือ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การผสมผสานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาวะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากร ทำให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต้องขยายพื้นที่การจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
          การศึกษาทางไกล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 20 เพื่อสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสาร หรือสังคมของการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต ที่บุคคลสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง
 
 
 
 
การศึกษาทางไกลในประเทศไทยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
การศึกษาทางไกลในประเทศไทย
          เชาวลิต ตนานนท์ชัย (2546: 33-36)     กล่าวว่าการปฏิรูปการศึกษาส่งผลให้เกิดการปรับ เปลี่ยนการศึกษาทั้งระบบนับตั้งแต่การบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอน ในส่วนของการบริหารจัดการนั้น เน้นให้มีการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อตอบสนองการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่ มาตรา 37 ได้กำหนดว่ากระทรวงอาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ เพื่อเสริมการบริการและจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาได้

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม       ท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ  ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้กล่าวถึงมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (กาญจนภิเษก) สถานีรับส่งวิทยุโทรทัศน์ที่โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แพร่ภาพออกอากาศผ่านดาวเทียมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหลายสาขาวิชาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6  วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลรองรับในหลักสูตรวิชาชีพแขนงต่าง ๆ เช่น คหกรรมศาสตร์ ช่างยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตวังไกลกังวล ก็เปิดรับนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย                
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน 50 ล้านบาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นทุนประเดิมก่อตั้งเป็นมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมขึ้น และหลังจากนั้นองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลอย่างพร้อมเพียง นอกจากนี้ยังพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนวังไกลกังวล ร่วมกับมูลนิธิฯ ถ่ายทอดสดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาแพร่ภาพทางโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่อง นับเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน ไม่ว่าร่ำรวยหรือยากจนในทุกภูมิภาคของประเทศได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูผู้สอน โดยเฉพาะในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนชนบทห่างไกลอีกด้วย ทั้งนี้การติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนวังไกลกังวล กับโรงเรียนปลายทาง (Distance Schools) ในพื้นที่ต่างๆ จะมีลักษณะของการโต้ตอบ หรือเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Interactive Communication) ในกรณีของการสอบถามปัญหาหรือคำถามต่างๆ                 
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มุ่งผลด้านขยายโอกาสในเชิงปริมาณ มีผลให้สถานศึกษาต่างๆ ที่จัดการศึกษาในระบบชั้นเรียน มีโอกาสขยายการดำเนินงานได้ในวงกว้างมากขึ้น สามารถเข้าถึงนักเรียน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว                 ในด้านคุณภาพนั้น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมก็ได้มีส่วนช่วยทำให้นักเรียนในชนบทที่ห่างไกล มีโอกาสได้รับความรู้ และศึกษาเล่าเรียนเท่าเทียมกับนักเรียนในเมือง รวมทั้งยังส่งเสริมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอีกด้วย                
              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ซึ่งรวมถึงคณะ กรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 ณ ศาลาดุสิดาลัย ใจความพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ได้พระราชทานเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมว่า ... ส่วนที่ได้กล่าวถึงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนั้น ก็เป็นโครงการที่มาหนุนมูลนิธิ ราชประชานุเคราะห์เหมือนกัน เพราะว่าถ้าประชาชนมีความรู้ ก็หมายความว่าเด็กได้สามารถที่จะเรียนวิชาการต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านภาษาได้ดี ก็สามารถที่จะดำรงชีวิตได้ ได้ดี ได้ดีมาก นอกจากนั้นโรงเรียนที่รายการของการศึกษาทางดาวเทียมนี้ ก็ได้พยายามที่จะให้นักเรียนมีความรู้ทางจริยธรรมด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ก็บ่นกันว่า เยาวชนมักจะไม่ค่อยมีจริยธรรม ไม่ค่อยมีความดี ความดีไม่มี เลยทำให้เกิดความเดือดร้อนทั่วประเทศ เกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เกี่ยวข้องกับการรุนแรง ความรุนแรงต่างๆ ฉะนั้นการสอนของโครงการการศึกษาทางดาวเทียมนั้น ก็จะทำให้ราษฎรของประเทศชาติ มีคุณสมบัติ มีคุณภาพดีขึ้น
 
ความหมายของการศึกษาทางไกล
ความหมาย  
          ได้มีผู้ให้คำนิยามของการเรียนทางไกล (Distance learning) หรือการศึกษาทางไกล (distance education) ไว้หลายท่านด้วยกันดังนี้
          เบิร์ก และฟรีวิน ได้ให้ความหมายของการ เรียนการสอนทางไกลว่า หมายถึงกิจกรรมการเรียนที่สถาบันการศึกษาได้จัดทำเพื่อให้ผู้เรียนซึ่งไม่ได้เลือกเข้าเรียนหรือไม่สามารถจะเข้าเรียนในชั้นเรียนที่มีการสอนตามปกติได้กิจกรรมการเรียนที่จัด ให้มีนี้จะมีการผสมผสานวิธีการที่สัมพันธ์กับทรัพยากร การกำหนดให้มีระบบการจัดส่งสื่อการสอน และมีการวางแผนการดำเนินการ รูปแบบของทรัพยากรประกอบด้วย เอกสาร สิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เรียนอาจเลือกใช้สื่อเฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่มได้ ส่วนระบบการจัด ส่งสื่อนั้นก็มีการใช้เทคโนโลยีนานาชนิด สำหรับระบบบริหารก็มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางไกล ขึ้น เพื่อรับผิดชอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
          โฮล์มเบิร์ก (Borje Holmber)ได้ ให้ความหมายของการศึกษาทางไกล ว่าหมายถึงการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้มาเรียนหรือ สอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยใช้ระบบการสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ว่าผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม การเรียนการสอนทางไกลเป็นวิธีการสอนอันเนื่องมาจากการแยกอยู่ห่างกันของผู้เรียนและผู้สอน การปฏิสัมพันธ์ดำเนินการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
          ไกรมส์ (Grimes) ได้ให้นิยามการศึกษาทางไกลว่า คือ "แนวทางทุก ๆ แนวทางของการเรียนรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอนปกติที่เกิดขึ้น แต่ในกระบวนการเรียนรู้นี้ครูผู้สอนและนักเรียนอยู่คนละสถานที่กัน " นอกจากนี้ ไกรมส์ ยังได้อธิบายถึงเรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ผ่านสื่อทางไกล โดยเขาได้ให้นิยามที่กระชัย เข้าใจง่ายสำหรับการศึกษาทางไกลสมัยใหม่ไว้ว่าคือ "การนำบทเรียนไปสู่นักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีมากกว่าที่จะใช้เทคโนโลยีนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียน" และไกรมส์ยังได้ถอดความของคีแกน (Keehan) ซึ่งได้กำหนดลักษณะเฉพาะของการเรียนการสอนทางไกลไว้ ดังนี้คือ
           1. เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนอยู่ต่างสถานที่กัน
           2. สถาบันการศึกษาเป็นผู้กำหนดขอบเขตและวิธีการในการบริหารจัดการ (รวมทั้งการประเมินผลการเรียนของนักเรียน)
           3. ใช้กระบวนการทางสื่อในการนำเสนอเนื้อหาหลักสูตร และเป็นตัวประสานระหว่างครูกับนักเรียน
           4. สามารถติดต่อกันได้ทั้งระหว่างครูกับนักเรียนและหรือสถาบันการศึกษากับนักเรียน
          วิจิตร ศรีสอ้าน ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนทางไกลว่าหมายถึง ระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่ สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการทางการศึกษา โดยมุ่งให้ผู้เรียนเรียนได้ ด้วยตนเองอยู่กับบ้าน ไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ การเรียนการสอนทางไกลเป็นการสอนที่ผู้ เรียนและผู้สอนจะอยู่ไกลกัน แต่สามารถมีกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้ โดยอาศัยสื่อประสม เป็นสื่อการสอน โดยผู้เรียนผู้สอนมีโอกาสพบหน้ากันอยู่บ้าง ณ ศูนย์บริการ การศึกษาเท่าที่จำเป็น การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสื่อประสมที่ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองในเวลาและสถานที่สะดวก
          สนอง ฉินนานนท์ ได้ให้ความหมาย ของการศึกษาทางไกลว่าเป็นกิจกรรมการเรียนสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนตามปกติได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ หรือเหตุผลทางเศรษฐกิจก็ตาม การเรียนการสอนลักษณะ นี้ผู้สอนกับผู้เรียนแยกห่างกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์โดยผ่านสื่อการเรียนการสอน การเรียนโดยใช้สื่อการเรียนทางไกลนั้น ใช้สื่อในลักษณะสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ สื่อเอกสาร สื่อโสตทัศน์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นรายการวิทยุ โทรทัศน์ เทปเสียง วีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์
          วิชัย วงศ์ใหญ่ การสนทางไกล (distance teaching) หมายถึง ระบบของการจัดการศึกษาวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนไม่ต้องมาทำ กิจกรรมในห้องเรียน กระบวนการเรียนการสอนจะยืดหยุ่นในเรื่องเวลา สถานที่ โดยคำนึงถึงความ สะดวกและความพร้อมของผู้เรียนเป็นหลัก รูปแบบของการเรียนจะใช้สื่อการเรียนประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ สื่อที่ติดต่อทางไปรษณีย์ สื่อทางวิทยุ สื่อทางโทรทัศน์และสื่อโสตทัศน์อุปกรณ์ประเภทอื่น รวมทั้งการพบกลุ่มโดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้หรือการสินเสริม เป็นต้น
          โดยสรุป แล้วการศึกษาทางไกล หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยที่ผู้เรียนไม่ จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนปกติ เป็นการเรียนการสอนแบบไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อต่าง ๆ ที่เรียกว่าสื่อ ประสม ได้แก่ เอกสาร สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสื่อบุคคลช่วยในการจัดการ เรียนการสอน
 
 
 
 
ความเป็นมาของการศึกษาทางไกล
          ความเป็นมาของการศึกษาทางไกล
          การศึกษาทางไกลเริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2393( กลางทศตวรรษที่ 19) ทั้งในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ริเริ่มการสอนทางไกลได้ใช้เทคโนโลยีที่เยี่ยมยอดที่สุดในสมัยนั้นคือระบบไปรษณีย์ เพื่อโอกาสทางการศึกษา แก่บุคคลผู้ต้องการเรียนแต่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนธรรมดาได้ ผู้เรียนซึ่งได้รับประโยชน์จากการเรียนทางไปรษณีย์เหล่านี้ ได้แก่พิการ และหญิงซึ่งไม่ได้รับอนุญาตเข้าเรียนในสถาบันชาย บุคคลซึ่งทำงานตอนกลางวันซึ่งเป็นเวลาเรียนปกติในโรงเรียน และบุคคลผู้อยู่ในที่ห่างไกลที่ไม่มีที่เรียนตั้งอยู่การประดิษฐ์คิดค้นวิทยุขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2463-2472 ( ทศวรรษ 1920S ) และโทรทัศน์ในช่วง พ.ศ.2483 – 2492   ( ทศวรรษ 1940S ) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในการศึกษาทางไกล โดยยังประโยชน์ให้ผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ในการเผยแพร่โปรแกรมการเรียนให้แก่ผู้เรียนอย่างกว้างขวางเพิ่มนับล้านๆคน นับเป็นการขยายโอกาสทางการเรียนครั้งสำคัญนอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียนจากการเรียนโรงเรียนปกติพัฒนาการของระบบโทรศัพท์ในช่วงประมาณ พ.ศ.2443( ต้นทศวรรษ 1900S) เป็นการเริ่มศักยภาพให้แก่ผู้สอนทางไกลในการติดต่อกับผู้เรียนได้ แต่ระบบโทรศัพท์มิได้มีบทบาทสำคัญเท่าใดนักในการศึกษาจนกระทั่งมีการใช้เทคโนโลยีการประชุมทางไกลขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 – 2543( ทศวรรษ 1980S ) ระบบการประชุมทางไกลช่วยให้ผู้สอนได้สามารถสอนได้เวลาจริง ถึงแม้ผู้สอนและผู้เรียนจะอยู่ห่างกันในส่วนใดของโลกก็ตามการศึกษาทางไกลในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมร่วมกันมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อถึงกันได้ ด้วยการแผ่ขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในช่วง พ.ศ. 2523 – 2542 (ทศวรรษ 1980s – 1990s) ทำให้มีการต่อพ่วงคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์จึงช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสื่อสารกันได้ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ การใช้คอมพิวเตอร์ในระบบเวิลด์ไวด์เว็บยังทำให้ผู้สอนสามารถเสนอข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ในลักษณะสื่อหลายมิติ รวมถึงการที่ผู้เรียนสามารถมีการโต้ตอบกับผู้สอนได้ในรูปแบบเดียวกัน จึงนับได้ว่าการศึกษาทางไกลในปัจจุบันมีการพัฒนาการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
 
 
 
รูปแบบการศึกษาทางไกล
รูปแบบการศึกษาทางไกล
DLRN Research Associate (1995) กล่าวว่ารูปแบบการศึกษาทางไกลมีรูปแบบ คือ ซิงโครนัส (synchronous) และอะซิงโครนัส (asynchronous)
1.  รูปแบบซิงโครนัส  เป็นรูปแบบที่ต้องการการเข้าร่วมพร้อมกันในบรรดาผู้เรียนและผู้สอนทั้งหมด ต้องมีการนัดเวลา สถานที่ และบุคคล  ประโยชน์ของรูปแบบซิงโครนัสก็คือปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน รูปแบบซิงโครนัสได้แก่ Interactive TV   audiographics, computerconferencing, IRC  และ MOO2. รูปแบบอะซิงโครนัส  เป็นรูปแบบที่ไม่ต้องการการเข้าร่วมพร้อมกันในบรรดานักเรียน และผู้สอน นักเรียนไม่ต้องรวมกลุ่มในสถานที่เดียวกันและเวลาเดียวกัน  นักเรียนอาจจะเลือกช่วงเวลา และวัสดุการเรียนการสอนด้วยตัวเอง แล้วจัดตารางเวลาของตัวเอง รูปแบบอะซิงโครนัสยืดหยุ่นกว่ารูปแบบซิงโครนัส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของการติดต่อสื่อสารเช่นเดียวกันกับอีเมล์ รูปแบบอะซิงโครนัสยอมและสนับสนุนการพัฒนากลุ่มชน รูปแบบของการส่งพร้อมกับอีเมล์ listservs, บทเรียนเทปเสียง บทเรียนวิดิทัศน์ บทเรียนทางไปรษณีย์  และ บทเรียนทางเว็บ (แม้ว่าในอนาคตระบบเวบจะเป็นไปได้มากในการใช้รูปแบบซิงโครนัส) ประโยชน์ของการศึกษาทาง ไกลรูปแบบอะซิงโครนัสคือ ทางเลือกของผู้เรียนในเรื่องสถานที่และเวลา และมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนทั้งหมด ส่วนข้อจำกัดก็คือปฏิกิริยาสัมพันธ์นั้นขึ้นอยู่กับการใช้อีเมล์ซึ่งต้องอาศัยการเขียนในการติดต่อแลกเปลี่ยนกัน
 
 
 
ลักษณะของการศึกษาทางไกล
ลักษณะของการศึกษาทางไกล
         1. การเรียน- การสอน การศึกษาทางไกลต้องอาศัยครู และอุปกรณ์การสอนที่สามารถใช้สอนนักเรียนได้มากกว่า 1 ห้องเรียน และได้ในหลายสถานที่ เช่น วิชาพื้นฐาน ทำให้ไม่ต้องจ้างครูและซื้ออุปกรณ์สำหรับการสอนในวิชาเดียวกันของแต่ละแห่ง และครูสามารถเลือกให้นักเรียนแต่ละแห่งถามคำถามได้ เนื่องจากแต่ละห้องมีขนาดไม่ใหญ่นัก และจำนวนนักเรียนก็มีไม่มากนัก โดยมีอุปกรณ์ช่วยในการโต้ตอบ เช่น ไมโครโฟน กล้องวีดีทัศน์ และจอภาพ เป็นต้น
         2. การถาม - ตอบ หากนักเรียนมีปัญหาข้อสงสัย อาจสามารถถามครูได้โดยผ่านโทรศัพท์ หรือผ่านกล้องโทรศัพท์ หรือผ่านกล้องวีดีทัศน์ในระบบการประชุมทางไกล (Video Conference)  ในขณะที่เรียนหรือส่งโทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปถามได้ในภายหลังหรือครูอาจจะนัดเวลาเป็นการเฉพาะเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม การถามตอบในลักษณะนี้ จะทำให้ครูจะมีเวลามากขึ้นในการค้นคว้าเพื่อส่งคำตอบกลับไปให้ทำเรียนในภายหลัง
        3. การประเมินผล ผู้เรียนสามารถส่งการบ้านและการทดสอบได้ทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ทั้งนี้รูปแบบและวิธีการประเมินผลจะต้องได้รับการออกแบบเฉพาะ หรืออาจจะใช้การประเมินผลในรูปแบบปกติในห้องเรียน (ให้ผู้เรียนไปทดสอบ ณ สถานที่ที่จัดไว้ไห้) เพื่อผสมผสานกันไปกับการเรียนทางไกล
 
 
 
 
วิธีรับชม
1.             ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชันส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ
2.             ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
3.             สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
 
 
 
 
สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
                                                 สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ Distance learning Television (DLTV) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี โดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ถ่ายทอดสดหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษา และสายวิชาชีพให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา รวมทั้งการออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษทางช่อง 81-95 (UBC) …….บริหารงานโดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ Distance learning foundation (DLF)
สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ดำเนินการออกอากาศ รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การศึกษาในระบบโรงเรียน    เป็นการจัดการศึกษา ตาม หลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ ในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอน หรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก โรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ สามารถทำได้ โดยจัดหาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตามตารางเวลาที่ออกอากาศ
2. การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย    เป็นการจัดการศึกษา เพื่อให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education) การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียม เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยนี้ กำหนดเนื้อหารายการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และ ความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน
 
 
 
 
สื่อในการศึกษาทางไกล
การเลือกหรือจัดสื่อเพื่อใช้ในการศึกษาทางไกลไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดก็ตาม  จะต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาที่ว่า  ถ้าผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนตลอดเวลานานๆเข้าจะเกิดความเบื่อหน่ายยิ่งถ้าสื่อชนิดเดียวกันหรือเป็นสื่อทางวิชาการที่ยุ่งยากซับซ้อนทำให้ไม่สนุกแล้ว  ผู้เรียนก็ยิ่งท้อถอยหมดกำลังใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ดังนั้นสื่อที่ใช้จึงควรเป็นสื่อที่มีการเสริมแรงให้กำลังใจและให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงความก้าวหน้าของตนเองเป็นระยะๆ  การใช้สื่อในการเรียนแบบนี้จึงอยู่ในลักษณะสื่อประสมโดยมีสื่อใดสื่อหนึ่งเป็นสื่อหลักและมีสื่อชนิดอื่นเป็นสื่อเสริมทั้งนี้เพราะสื่อแต่ละอย่างก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง  การศึกษาจากสื่อเพียงชนิดเดียวอาจจะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรจึงต้องอาศัยสื่อชนิดอื่นประกอบเพื่อเสริมความรู้  สื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลสามารถจำแนกออกได้ดังนี้
                สื่อหลัก  คือ  สื่อที่บรรจุรายละเอียดเนื้อหาบทเรียนตามประมวลคำสอนแต่ละวิชาในหลักสูตร  โดยอาจอยู่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์  รายการโทรทัศน์การสอน  รายการวิทยุการสอนหรือวิทยุโรงเรียน  บทเรียนซีเอไอ  และบทเรียนบนเว็บ  ผู้เรียนต้องศึกษาจากสื่อหลักให้ครบตามหลักสูตรของวิชาจึงสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างครบถ้วน
                สื่อเสริม  คือ  สื่อที่จะเก็บตก  ต่อเติมความรู้ให้แก่ผู้เรียนให้เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนกระจ่างสมบูรณ์ขึ้น  หรือหากในกรณีผู้เรียนศึกษาจากสื่อหลักแล้วยังไม่จุใจพอ  หรือยังไม่เข้าใจได้ชัดเจนมีปัญหาอยู่ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อเสริมได้  สื่อประเภทนี้จะอยู่ในรูปแบบของเทปสรุปบทเรียน  วิทยุ  เอกสารเสริม  การสอนเสริม  การพบกลุ่ม  หรือเว็บไซต์ต่างๆ  เป็นต้น
                การเลือกใช้สื่อหลักอาจจัดได้หลายแนว  คือ
                -  แนวที่ยึดสิ่งพิมพ์เป็นหลัก  ในลักษณะหนังสือตำราเรียน  หนังสือแบบฝึกหัดเอกสาร     คำบรรยาย  ฯลฯ
                -  แนวที่ยึดโทรทัศน์เป็นหลัก  ในลักษณะรายการโทรทัศน์การสอนส่งไปยังผู้เรียนโดยการแพร่สัญญาณกว้างและวงแคบ  โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม  คลื่นไมโครเวฟเคเบิลทีวี  รวมถึงการใช้แถบวีดีทัศน์หรือแผ่นวีซีดีนำเสนอบทเรียนตามหลักสูตรการสอน
                -  แนวที่ยึดวิทยุเป็นหลัก  ในลักษณะรายการวิทยุการสอนและวิทยุโรงเรียน
                        -  แนวที่ยึดคอมพิวเตอร์เป็นหลัก  ในลักษณะรายการใช้เว็บเป็นพื้นฐาน  (wed-based  instruction;  WBI)  หรือทั่วไปว่า  การสอนบนเว็บ  บนอินเทอร์เน็ต
                เมื่อมีการสอนในแนวใดเป็นหลัก  ต้องมีการใช้สื่อเสริมให้แก่ผู้เรียนเป็นลักษณะ  สื่อประสม  (multimedia)  ที่มีบูรณาการของสื่อแต่ละประเภทเพื่อช่วยเพิ่มความรู้  เช่น  เมื่อใช้สื่อโทรทัศน์เป็นหลักแล้วควรเสริมด้วยสิ่งพิมพ์  เทปเสียงสรุป  บทเรียนซีไอเอ  และการสอนเสริม  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในแต่ละหัวข้อการเรียน
 
 
 
 
สื่อในการศึกษาทางไกล
การเลือกหรือจัดสื่อเพื่อใช้ในการศึกษาทางไกลไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดก็ตาม  จะต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาที่ว่า  ถ้าผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนตลอดเวลานานๆเข้าจะเกิดความเบื่อหน่ายยิ่งถ้าสื่อชนิดเดียวกันหรือเป็นสื่อทางวิชาการที่ยุ่งยากซับซ้อนทำให้ไม่สนุกแล้ว  ผู้เรียนก็ยิ่งท้อถอยหมดกำลังใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ดังนั้นสื่อที่ใช้จึงควรเป็นสื่อที่มีการเสริมแรงให้กำลังใจและให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงความก้าวหน้าของตนเองเป็นระยะๆ  การใช้สื่อในการเรียนแบบนี้จึงอยู่ในลักษณะสื่อประสมโดยมีสื่อใดสื่อหนึ่งเป็นสื่อหลักและมีสื่อชนิดอื่นเป็นสื่อเสริมทั้งนี้เพราะสื่อแต่ละอย่างก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง  การศึกษาจากสื่อเพียงชนิดเดียวอาจจะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรจึงต้องอาศัยสื่อชนิดอื่นประกอบเพื่อเสริมความรู้  สื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลสามารถจำแนกออกได้ดังนี้
                สื่อหลัก  คือ  สื่อที่บรรจุรายละเอียดเนื้อหาบทเรียนตามประมวลคำสอนแต่ละวิชาในหลักสูตร  โดยอาจอยู่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์  รายการโทรทัศน์การสอน  รายการวิทยุการสอนหรือวิทยุโรงเรียน  บทเรียนซีเอไอ  และบทเรียนบนเว็บ  ผู้เรียนต้องศึกษาจากสื่อหลักให้ครบตามหลักสูตรของวิชาจึงสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างครบถ้วน
                สื่อเสริม  คือ  สื่อที่จะเก็บตก  ต่อเติมความรู้ให้แก่ผู้เรียนให้เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนกระจ่างสมบูรณ์ขึ้น  หรือหากในกรณีผู้เรียนศึกษาจากสื่อหลักแล้วยังไม่จุใจพอ  หรือยังไม่เข้าใจได้ชัดเจนมีปัญหาอยู่ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อเสริมได้  สื่อประเภทนี้จะอยู่ในรูปแบบของเทปสรุปบทเรียน  วิทยุ  เอกสารเสริม  การสอนเสริม  การพบกลุ่ม  หรือเว็บไซต์ต่างๆ  เป็นต้น
                การเลือกใช้สื่อหลักอาจจัดได้หลายแนว  คือ
                -  แนวที่ยึดสิ่งพิมพ์เป็นหลัก  ในลักษณะหนังสือตำราเรียน  หนังสือแบบฝึกหัดเอกสาร     คำบรรยาย  ฯลฯ
                -  แนวที่ยึดโทรทัศน์เป็นหลัก  ในลักษณะรายการโทรทัศน์การสอนส่งไปยังผู้เรียนโดยการแพร่สัญญาณกว้างและวงแคบ  โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม  คลื่นไมโครเวฟเคเบิลทีวี  รวมถึงการใช้แถบวีดีทัศน์หรือแผ่นวีซีดีนำเสนอบทเรียนตามหลักสูตรการสอน
                -  แนวที่ยึดวิทยุเป็นหลัก  ในลักษณะรายการวิทยุการสอนและวิทยุโรงเรียน
                        -  แนวที่ยึดคอมพิวเตอร์เป็นหลัก  ในลักษณะรายการใช้เว็บเป็นพื้นฐาน  (wed-based  instruction;  WBI)  หรือทั่วไปว่า  การสอนบนเว็บ  บนอินเทอร์เน็ต
                เมื่อมีการสอนในแนวใดเป็นหลัก  ต้องมีการใช้สื่อเสริมให้แก่ผู้เรียนเป็นลักษณะ  สื่อประสม  (multimedia)  ที่มีบูรณาการของสื่อแต่ละประเภทเพื่อช่วยเพิ่มความรู้  เช่น  เมื่อใช้สื่อโทรทัศน์เป็นหลักแล้วควรเสริมด้วยสิ่งพิมพ์  เทปเสียงสรุป  บทเรียนซีไอเอ  และการสอนเสริม  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในแต่ละหัวข้อการเรียน
 
 
 
 
หลักสำคัญของการศึกษาทางไกล
หลักสำคัญของการศึกษาทางไกล
          จากความหมายและปรัชญาของการเรียนการสอนทางไกลดังได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ ว่ามีลักษณะเฉพาะสำคัญที่แตกต่างไปจากการศึกษาในระบบอื่นหลายประการ ดังที่ วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ ได้จำแนกลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกลไว้ดังนี้
          1. ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ห่างจากกัน การเรียนการสอนทางไกล เป็นรูปแบบการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนอยู่ห่างไกลกัน มีโอกาสพบปะหรือได้รับความรู้จากผู้สอนโดยตรงต่อหน้าน้อยกว่าการ ศึกษาตามปกติ การติดต่อระหว่างผู้เรียนและผู้สอนนอกจากจะกระทำโดยผ่านสื่อต่าง ๆ แล้ว การ ติดต่อสื่อสารโดยตรงจะเป็นไปในรูปของการเขียนจดหมายโต้ตอบกัน มากกว่าการพบกันเฉพาะหน้า
          2. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ในระบบการเรียนการสอนทางไกลผู้เรียนจะมีอิสระใน การเลือกเรียนวิชาและเลือกเวลาเรียนตามที่ตนเห็นสมควร สามารถกำหนดสถานที่เรียนของตนเอง พร้อมทั้งกำหนดวิชาการเรียนและควบคุมการเรียนด้วยตนเอง วิธีการเรียนรู้ก็จะเป็นการเรียนรู้ด้วยตน เอง จากสื่อที่สถาบันการศึกษาจัดบริการรวมทั้งสื่อเสริมในลักษณะอื่น ๆ ที่ผู้เรียนจะหาได้เอง
          3. ใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการบริหารและบริการ สื่อทางเทคโนโลยีการศึกษา ที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลัก โดยจัดส่งให้ผู้เรียนทางไปรษณีย์ สื่อเสริมจัดไว้ในหลายรูปแบบมีทั้งรายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ เทปเสียงประกอบชุดวิชา และวีดีทัศน์ประกอบชุดวิชา สิ่งใดที่มิได้จัดส่งแก่ผู้เรียนโดยตรง สถาบันการศึกษาจะจัดไว้ตามศูนย์การศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรับฟัง หรือรับชม โดยอาจให้บริการยืมได้ นอกจากสื่อดังกล่าวแล้ว สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางไกลยังมีสื่อเสริมที่สำคัญอีก เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อ คอมพิวเตอร์ และสื่อการสอนทางโทรทัศน์ฯ เป็นต้น
          4. ดำเนินงานและควบคุมคุณภาพในรูปองค์กรคณะบุคคล การศึกษาทางไกลได้รับการยอม รับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบและวิธีการจัดการศึกษาในประเทศต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เพราะสามารถ จัดการเรียนการสอน ตลอดจนบริการการศึกษาให้แก่ผู้เรียนได้มากกว่าและประหยัดกว่าทั้งนี้เพราะ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนครูต่อนักเรียนอาคารสถานที่ ในส่วนคุณภาพนั้นผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาทุกคนต่างมุ่งหวังให้การศึกษาที่ตนจัดบรรลุจุดมุ่งหมาย และมาตรฐานที่รัฐตั้งไว้ การศึกษาทางไกลได้มีการสร้างระบบและองค์กรขึ้นรับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตรและผลิตเอกสารการ สอน ตลอดจนสื่อการสอนประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการออกข้อสอบ ลักษณะเช่นนี้ อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาทางไกลมีระบบการควบคุมคุณภาพของการศึกษาอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด ความรับผิดชอบในการจัดการศึกษามิได้อยู่ภายใต้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะแต่เน้นการจัดการศึกษาที่มีการดำเนินงานในรุปองค์กรคณะบุคคล ที่สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
          5. มีการจัดการศึกษาอย่างมีระบบ กระบวนการเรียนการสอนทางไกลได้รับการออกแบบขึ้น อย่างเป็นระบบ เริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรและผลิตเอกสาร ตลอดจนสื่อการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการวัดและประเมินผล มีการดำเนินงานและผลิตผลงานที่เป็น ระบบ มีการควบคุมมาตรฐานและคุณค่าอย่างแน่นอนชัดเจน จากนั้นจะส่งต่อไปให้ผู้เรียน ส่วนการ ติดต่อที่มาจากผู้เรียนนั้น ผู้เรียนจะจัดส่งกิจกรรมมายังสถานศึกษา ซึ่งหน่วยงานในสถานศึกษาจะ จัดส่งกิจกรรมของผู้เรียนไปตามระบบถึงผู้สอน เพื่อให้ผู้สอนตรวจตามมาตรฐานและคุณภาพการ ศึกษาที่ได้กำหนดไว้
          6. มีการใช้สื่อประเภทต่าง ๆ หลากหลาย แทนสื่อบุคคล สื่อที่ใช้แตกต่างกันไปตามเนื้อหา การสอนและการจัดการสอนเป็นการจัดบริการให้แก่ผู้เรียนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการดำเนินงานในด้านการเตรียมและจัดส่งสื่อการศึกษาจึงต้องจัดทำในรูปของกิจกรรมทางอุตสาหกรรม คือมีการผลิตเป็นจำนวนมาก มีการนำเอาเทคนิคและวิธีการผลิตที่จัดเป็นระบบ และมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนตามระบบอุตสาหกรรม
         7. เน้นด้านการผลิตและจัดส่งสื่อการสอนมากกว่าการทำการสอนโดยตรง บทบาทของ สถาบันการสอนในระบบทางไกลจะแตกต่างจากสถาบันที่สอนในระบบเปิดโดยจะเปลี่ยนจากการสอนเป็นรายบุคคลมากเป็นการสอนคนจำนวนมาก สถาบันจะรับผิดชอบด้านการผลิตและจัดส่ง เอกสารและสื่อการศึกษา การประเมินผลการเรียนของผู้เรียน และการจัดสอนเสริมในศูนย์ภูมิภาค
         8. มีการจัดตั้งหน่วยงานและโครงสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการสอนและการบริการผู้เรียน แม้ผู้เรียนและผู้สอนจะอยู่แยกห่างจากกันก็ตาม แต่ผู้เรียนก็จะได้รับการสนับสนุนจากผู้สอนในลักษณะ ต่าง ๆ มีการจัดตั้งศูนย์การศึกษาประจำท้องถิ่นหรือประจำภาคขึ้นเพื่อสนับสนุนให้บริการการศึกษา
         9. ใช้การสื่อสารติดต่อแบบสองทางในการจัดการศึกษาทางไกล แม้การจัดการสอนจะเป็น ไปโดยใช้สื่อการสอนประเภทต่าง ๆ แทนการสอนด้วยครูโดยตรง แต่การติดต่อระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนก็เป็นไปในรูปการติดต่อสองทาง ซึ่งสถาบันการศึกษาและผู้สอนจะติดต่อกับผู้เรียนโดย จดหมายและโทรศัพท์ ส่วนผู้เรียนก็อาจจะติดต่อกับผู้สอนและสถาบันการศึกษาด้วยวิธีการเดียวกัน นอกจากนี้ทางสถาบันการศึกษายังจัดให้มีการติดต่อกับผู้เรียนด้วยการจัดสอนเสริม ซึ่งส่งผู้สอนไปสอนนักศึกษาตามศูนย์บริการการศึกษาประจำจังหวัดตามช่วงเวลาและวิชาที่สถาบันกำหนด
 
 
 
 
องค์ประกอบหลักของการศึกษาทางไกล
  องค์ประกอบหลักของการศึกษาทางไกล
         1. ผู้เรียน จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดเวลา สถานที่ และวิธีเรียนของตนเอง โดยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น จากการสอนโดยผ่านการสื่อสารทางไกล วีดีทัศน์ที่ผลิตเป็นรายการ วีดีทัศน์ที่บันทึกจากการสอน ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอนในรูปของบทเรียนด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
         2. ผู้สอน จะเน้นการใช้สื่อการสอนที่มีคุณภาพและอีกหลากหลายรูปแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หรือ
เรียนเสริมในภายหลัง เนื่องจากผู้สอนมีโอกาสพบผู้เรียนโดยตรงน้อยมาก คือมีโอกาสพบปะผู้เรียนแบบเผชิญหน้าในตอนแรกและตอนท้ายของภาคเรียน หรือไปสอนเสริมในบางบทเรียนที่พิจารณาเห็นว่ายากต่อการเข้าใจเท่านั้น
         3. การจัดระบบบริหารและบริการ เป็นการจัดโครงสร้างอื่นมาเสริมการสอนทางไกลโดยตรง เช่น อาจมีครูที่ปรึกษาประจำตัว ผู้เรียน มีศูนย์บริการการศึกษาที่ใกล้ตัวผู้เรียน รวมทั้งระบบการผลิตและจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ
         4. การควบคุมคุณภาพ จะจัดทำอย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านองค์ประกอบของการสอนทางไกล เช่น ขั้นตอนการวางแผน กระบวนการเรียนการสอน วิธีการประเมินผล และการปรับปรุงกระบวนการ เป็นต้น
         5. การติดต่อระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษา เป็นการติดต่อแบบ ๒ ทาง โดยใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือจดหมาย เป็นต้น
 
 
 
 
เทคนิคการเรียน
วิธีการเรียนที่จะให้ได้ผลการเรียนดีที่สุดโดยใช้ความพยายามน้อยที่สุด ถ้าคุณต้องการเข้าใจ เนื้อหา ก็ต้องศึกษาแบบเจาะลึกไม่ใช่เพียงผิวเผิน พยายามอ่าน ทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำ ซึ่งวิธีการเรียน แบบนี้ แต่ละคนจะมีวิธีการเรียนของตัวเอง สำหรับผู้เรียนการศึกษาทางไกล ลองพิจารณาข้อเสนอแนะต่อจากนี้ แล้วลองปฏิบัติ ดูอาจเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองก็เป็นได้ เริ่มจากเมื่อคุณตัดสินใจได้ว่าจะเรียนอะไรแล้วสิ่งที่นึกถึงจากนั้น คือ "สื่อ" ที่คุณมีอยู่ เช่น เอกสาร ตำรา ครู เพื่อนร่วมงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เทปเสียง แผ่นซีดี โทรศัพท์ และวีดีทัศน์ อันดับต่อมา คือ ตัวคุณเอง และเวลาในการศึกษา ซึ่งหมายถึงผู้เรียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบและศึกษาด้วยตนเอง ตามแบบการศึกษาทางไกล บทบาทของ ผู้เรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้เรียนจะต้องพัฒนาความเป็นผู้ใฝ่รู้ ในขณะที่ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วย
          ผู้เรียนจะต้องตระหนักตั้งแต่เริ่มต้นว่า มีจุดประสงค์อย่างไรและต้องทำอะไรบ้าง ต้องรู้ว่าจะต้องรับผิดชอบอะไร ประเมินความก้าวหน้าการเรียนอย่างไร ต้องติดต่อกับผู้สอนทางไกลตลอดเวลาเพื่อจะได้รู้ว่าผลการสอนจะเน้นอย่างไร การเรียน เป็นงานที่หนักยิ่งของผู้เรียนและต้องเตรียมความพร้อมเพียงใด การเตรียมตัวที่ดีความสำเร็จย่อมมีมาก
          ก่อนตัดสินใจที่จะเรียนจะพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับคุณ เช่น สภาพแวดล้อมส่วนตัวเป็นอย่างไร มีครอบครัว หรือยัง มีลูกเล็กๆ หรือเปล่า ทำงานเต็มเวลาหรือบางเวลาจะเรียนเต็มเวลาหรือบางเวลา ที่บ้านมีคนอยู่มากหรือไม่ จะต้อง ทำงานที่โต๊ะอาหาร โดยมีสมาชิกในครอบครัวหลายคน แต่ทำอย่างไรเราจึงจะมีสมาธิกับการเรียนได้

          ที่เรียน  ถ้าบ้านของคุณแออัดจนหาที่เงียบๆ ไม่ได้ ห้องสมุดหลังศูนย์การเรียนอาจเป็นทางเลือกที่จะให้คุณได้ใช้ศึกษา เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ อาจเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณในเรื่องของการช่วยเรียน ได้ หรือคุณอาจศึกษาจากผู้เรียนอื่นๆ ซึ่งการพูดคุยกับผู้เรียนคนอื่นก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีในเรื่องของการเรียนรู้ได้

          เปลี่ยนนิสัย  ชีวิตผู้ใหญ่ในสังคมเป็นชีวิตที่มีภาระมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาเวลาทำทุกอย่างได้ การจะจัดเวลาทำ การบ้าน การดูแลบ้าน พาลูกไปโรงเรียน ทำกิจกรรม ดูโทรทัศน์ หรือทำงานประจำอื่นๆ เป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มเรื่องการเรียนเข้า ไป ทำให้บางครั้งต้องตัดกิจกรรมบางอย่างออกไป คิดดูว่าจะสามารถตัดอะไรได้บ้าง การวางแผนเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวและ ผู้เรียนเท่านั้นที่จะพิจารณาว่าจะทำอย่างไร ถ้าต้องเรียน อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำการบ้าน แทนที่จะทำอย่างอื่นที่สนุกกว่า อย่า คิดเช่นนั้น การตัดสินใจเรียนอาจเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดในชีวิต อาจจะได้พบสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน การเรียนอาจเปลี่ยน แปลงชีวิต หรือสามารถให้โอกาสชีวิตใหม่ๆ ก็เป็นได้

          วิธีการ  เมื่อผู้เรียนสมัครเรียนทางไกลจะได้พบผู้สอน/ อาจารย์ที่ปรึกษา จากสถาบันและได้รับเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับ หลักสูตร และขอบเขตของหลักสูตร ก่อนอื่นควรดูเอกสารต่างๆ และลองจัดเวลาดูว่าจะต้องใช้เวลาเรียนอาทิตย์ละกี่ชั่วโมง ถ้า เห็นว่าเวลาว่างน้อยแสดงว่าต้องใช้เวลามากขึ้น ในแต่ละวันการเรียนต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เป็นเรื่องน่าเบื่อ อย่างน้อยต้องหา เวลาพักหรือได้เดินเล่นบ้าง การศึกษาเอกสารก่อนจะทำให้คำนวณได้อย่างคร่าวๆ ว่ามีหลักสูตรอะไรบ้างจากสื่อ การเรียนไปแต่ ละหน่วยจะค่อยๆ เริ่มจากง่ายไปหายากบ้าง ผู้เรียนต้องศึกษาให้เข้าใจไปทีละน้อยตามลำดับ
  ความเครียด  ความเครียดเป็นผลร้ายต่อการเรียน วิธีหลีกเลี่ยงความเครียดที่ดีที่สุด คือ วางแผนและฝึกจิตใจ ปฏิบัติ ตามแผนที่วางไว้และทำงานทุกวัน หลีกเลี่ยงการทำงานที่คั่งค้าง ส่งงานตามเวลา แต่ถ้าทำไม่ได้ คุยหรืออธิบายสถานการณ์ให้ ผู้สอนเสริมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาทราบ แทนที่จะรู้สึกเครียดหรือหงุดหงิด ติดต่อกับเพื่อผู้เรียนคนอื่นบ้างถ้ามี เพราะการที่มี เพื่อนที่อยู่สถานการณ์เดียวกัน จะเป็นที่ปรึกษาที่ดีซึ่งกันและกันได้ อธิบายให้ครอบครัวและเพื่อนเข้าใจว่าเหตุใดจึงไม่ค่อยมี เวลาให้

          เริ่มทำความเข้าใจกับเอกสารอย่างกว้าง ค่อยๆ อ่านทีละหน้า ดูภาพและอ่านคำบรรยาย เขียนหัวข้อและประเด็นสำคัญๆ บันทึกขีดเส้นใต้ข้อความเรื่องที่สำคัญ จับประเด็นสำคัญและย่อความด้วยคำพูดตัวเอง ถามคำถามเพื่อตรวจสอบว่าตนเองเข้าใจ เรื่องที่อ่านมากน้อยแค่ไหน ศึกษากับเพื่อนที่มี ตั้งคำถามช่วยกันคิด ทบทวนเอกสารก่อนที่จะบันทึกรายละเอียดและหัวข้อ การ จะพยายามอ่านและเขียนทุกๆ เรื่องเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จึงต้องรู้จักจับประเด็นที่สำคัญ เพื่อประหยัดเวลาและได้ความรู้ พยายามหาวิธีของตนเอง การเรียนไม่จำกัดที่ต้องอยู่ที่โต๊ะเสมอไป

          หรืออาจเขียนโน้ตย่อ ไม่จำเป็นต้องบันทึกเสมอไป อาจบันทึกเทปไว้ฟังเวลาขับรถ ทำกับข้าวหลังล้างชาม เขียนคำ หรือ วลียากๆ ไว้แล้วไปติดในที่เด่นๆ รอบบ้าน เพื่อจะได้เน้นตลอดเวลาและทำให้จำได้ ก่อนนอนอ่านตำราเล็กน้อย ถึงจะอ่านได้น้อย กว่าแต่อาจนับว่าได้อะไรบ้าง ตอบคำถามในตำราแต่ละตอน แล้วลองตั้งคำถามเองบ้าง เมื่อรู้สึกล้าลองให้รางวัลตัวเองบ้าง การ ส่งการบ้านเป็นช่วงๆ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและส่งให้ตามกำหนด

          หากติดขัดในการเรียน  หากมีปัญหาก็ให้ทิ้งงานนั้นไว้ก่อนแล้วทำงานอื่นแทนหลังจากนั้น 2-3 วันค่อยกลับมาดูใหม่ บ่อยครั้งจะแก้ปัญหาได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ลองติดต่อกับผู้เรียน อาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อแก้ปัญหาได้แล้วควรทบทวนอีกครั้งเพื่อให้แน่ ใจว่าเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ยอมรับคำตอบของคนอื่นเพื่อผละไป

          ที่สำคัญติดต่อกับผู้สอนตลอดเวลา ไม่ใช่รอจนมีปัญหาเกิดขึ้น ถึงแม้ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะการพูดคุยจะทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือทำให้รู้สึกดีเมื่อมีคนให้กำลังใจ












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น